20 สิงหาคม 2550

การทดลอง ครั้งที่ 2

จากการทดลองครั้งที่แล้ว

การนำสิ่งอื่นที่มีความคล้าย "ร" ของ รรรรรร ยังไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดี

จากนั้นกลับมาศึกษา รรรรรร อีกครั้ง

รรรรรร ใช้การอ่าน แบบภาษาบาลี และภาษาไทย

จะใช้คำในภาษาบาลีในการทดลอง

ภาษาบาลีนั้น มีสระอะ ลดรูปซ่อนอยู่ในแต่ละพยัญชนะ ทำให้พยัญชนะที่ไม่มี นิคคหิต หรือ พิณทุ อ่านออกเสียง ด้วยสระ อะ เสมอ

พยัญชนะ ภาษาบาลีมี 33 รูป สันสกฤตมี 35 รูป (เพิ่ม ศ ษ) คือ
ภาษาบาลีมีหลักเกณฑ์การใช้ตัวสะกด ตัวตามที่แน่นอนคือ พยัญชนะที่ จะเป็นตัวสะกดได้ คือ พยัญชนะในแถวที่ 1, 3 และ 5 เท่านั้น

โดยมีหลัก เกณฑ์ดังนี้

ก . พยัญชนะแถวที่ 1 สะกด พยัญชนะแถวที่ 1 หรือ 2 เป็นตัวตาม เช่น วักกะ (ไต) ปัจจัย อัตตา อักขระ อิจฉา สมุฏฐาน หัตถ์ บุปผา ฯลฯ

ข. พยัญชนะแถวที่ 3 สะกด พยัญชนะแถวที่ 3 หรือ 4 เป็นตัวตาม เช่น อัคคี สมัชชา สัพพัญญู พยัคฆ์ อัชฌาสัย ยุทธ์ อัพภาส (คำซ้ำ) ฯลฯ

ค . พยัญชนะแถวที่ 5 สะกด พยัญชนะทุกตัวในวรรคเดียวกันเป็นตัวตามได้ เช่น สังกร สังขาร สังคม สงฆ์ กัญญา เบะ สัญชาติ สัณฐาน ภัณฑ์ ขันธ์ วันทา สนธิ ฯลฯ

ง . ถ้าตัวสะกดอยู่ในเศษวรรค เช่น ย ล ส จะใช้ตัวสะกดตัวตามตัวเดียวกัน เช่น อัยยิกา (ย่า , ยาย) ปัยยิกา (ย่าทวด , ยายทวด) อัยยะ (ผู้เป็นเจ้า , ผู้เป็นใหญ่) บัลลังก์ มัลลิกา (ดอกมะลิ) อัสสุชล มัสสุ (หนวด) ประภัสสร ฯลฯ

จากหลักเกณฑ์การใช้ตัวสะกด จะนำมาสร้างงาน ด้วย sequence ของสัมผัส (ต่อ2)

ไม่มีความคิดเห็น: