20 สิงหาคม 2550

การทดลอง ครั้งที่ 2

จากการทดลองครั้งที่แล้ว

การนำสิ่งอื่นที่มีความคล้าย "ร" ของ รรรรรร ยังไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดี

จากนั้นกลับมาศึกษา รรรรรร อีกครั้ง

รรรรรร ใช้การอ่าน แบบภาษาบาลี และภาษาไทย

จะใช้คำในภาษาบาลีในการทดลอง

ภาษาบาลีนั้น มีสระอะ ลดรูปซ่อนอยู่ในแต่ละพยัญชนะ ทำให้พยัญชนะที่ไม่มี นิคคหิต หรือ พิณทุ อ่านออกเสียง ด้วยสระ อะ เสมอ

พยัญชนะ ภาษาบาลีมี 33 รูป สันสกฤตมี 35 รูป (เพิ่ม ศ ษ) คือ
ภาษาบาลีมีหลักเกณฑ์การใช้ตัวสะกด ตัวตามที่แน่นอนคือ พยัญชนะที่ จะเป็นตัวสะกดได้ คือ พยัญชนะในแถวที่ 1, 3 และ 5 เท่านั้น

โดยมีหลัก เกณฑ์ดังนี้

ก . พยัญชนะแถวที่ 1 สะกด พยัญชนะแถวที่ 1 หรือ 2 เป็นตัวตาม เช่น วักกะ (ไต) ปัจจัย อัตตา อักขระ อิจฉา สมุฏฐาน หัตถ์ บุปผา ฯลฯ

ข. พยัญชนะแถวที่ 3 สะกด พยัญชนะแถวที่ 3 หรือ 4 เป็นตัวตาม เช่น อัคคี สมัชชา สัพพัญญู พยัคฆ์ อัชฌาสัย ยุทธ์ อัพภาส (คำซ้ำ) ฯลฯ

ค . พยัญชนะแถวที่ 5 สะกด พยัญชนะทุกตัวในวรรคเดียวกันเป็นตัวตามได้ เช่น สังกร สังขาร สังคม สงฆ์ กัญญา เบะ สัญชาติ สัณฐาน ภัณฑ์ ขันธ์ วันทา สนธิ ฯลฯ

ง . ถ้าตัวสะกดอยู่ในเศษวรรค เช่น ย ล ส จะใช้ตัวสะกดตัวตามตัวเดียวกัน เช่น อัยยิกา (ย่า , ยาย) ปัยยิกา (ย่าทวด , ยายทวด) อัยยะ (ผู้เป็นเจ้า , ผู้เป็นใหญ่) บัลลังก์ มัลลิกา (ดอกมะลิ) อัสสุชล มัสสุ (หนวด) ประภัสสร ฯลฯ

จากหลักเกณฑ์การใช้ตัวสะกด จะนำมาสร้างงาน ด้วย sequence ของสัมผัส (ต่อ2)

13 สิงหาคม 2550

ทดลอง ครั้งที่ 1

จาก ตัวอย่าง "รรรรรร" ที่มีความใกล้เคียงกับ sequence ของสัมผัส
"ร" มีคุณสมบัติ บางอย่าง และมีความยืดหยุ่นในการจับคู่
จึงยืมคุณสมบัติของ "ร" มาหาสิ่งที่คล้ายกัน เพื่อนำมาทำงานในรูปแบบของ sequence
จึงสรุปออกมาว่า "ร" มีคุณสมบัติคือ ไม่ตายตัว เข้าได้หลายอย่าง เหมือนกับคนที่เข้ากับคนอื่นได้ง่าย

.....

-น้ำสามารถเปลี่ยนแปลงได้หลายแบบไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับภาชนะ
-ความดี เปลี่ยนแปลงได้ ในบางสถานะการณ์ หรือจากสิ่งรอบตัว
-เรขาคณิต มีความเฉพาะในตัวมันเอง.....จากที่นั่งวิเคาระห์ เรขาคณิต มีความใกล้เคียงกับ sequence มากที่สุด
จึงนำเรขาคณิตะมาทดลอง

3เหลียม และ4เหลี่ยม ด้านเท่า
3เหลี่ยม เมื่อนำมาทำเป็น3 มิติ เพื่อให้หยิบจับและทดลองได้ง่าย
ภาพแรก เป็นภาพของ สามเหลี่ยมด้านเท่า


ภาพที่สอง

ภาพที่สาม เป็นภาพของการทดลองนำ3เหลี่ยนด้านเท่า2อันมาต่อกัน

ไม่ว่าจะเลือกต่อที่ด้านไหน ผลลัพธ์ก็จะออกมาเหมือนกัน

ภาพที่สี่ เป็นภาพของการนำสามเหลี่ยมด้านเท่า3อันมาทดลองต่อกัน
ไม่ว่าจะเลือกต่อที่ด้านไหนของชิ้นไหนก็ตาม ผลลัพธ์ก็ออกมาเหมือนกัน
แต่เมื่อเป็น 3เหลี่ยมด้านเท่า 4 อันลองนำมาต่อกันผลที่ได้จะมีอยู่ 3แบบ....
ต่อมา สี่เหลี่ยมด้านเท่า
-เมื่อนำมาลองต่อกัน2ชิ้น จะมีผลลัพธ์แค่ 1
-เมื่อลองนำมาต่อกัน3ชิ้น ก็จะเห็นว่ามีผลลัพธ์ออกมา 2แบบ
จะเห็นได้ว่าเกิดปัญหาเรื่องของผลลัพธ์ที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง มีหลายแบบไม่เหมือนกัน
ผลสรุป เรขาคณิต ไม่สามารถใช้ได้........

06 สิงหาคม 2550

Sequence ของสัมผัส (ต่อ3)

sequence จากเข้า ช.ม.เรียน เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว เกี่ยวกับเรื่อง การแลนดอมแล้วเกิดสุนทรีย์

หลังจากที่นั่งงงกับสิ่งที่ได้มาอยู่นาน มัวแต่คิด..ยึดรูปแบบ sequence หลักที่ได้มา...(อาจจะคิดช้าไปหน่อย = = )
ตอนนี้เหมือนมองเห็นหลักอะไรออกบางอย่าง
ลองตีความจาก sequence เก่า ออกมาง่ายๆ คือ
......

...

.

วัตถุ(1) + วัตถุ(2) = ความสุนทรีย์
+ คือ (random)
วัตถุ 2 สิ่ง ที่มีความแตกต่างกัน หรือเหมือนกัน แลนดอมวิธีการรวมให้วัตถุ 2 สิ่งเกิดการเชื่อมโยงกัน และเกิดความสุนทรีย์

ถ้าเป็นอย่างที่เขียนมา (ยังไม่แน่ใจว่า ลดระบบของ sequence เดิมมามากไปรึเปล่า?) ไม่ว่าจะใช้สื่อหรือวัตถุแบบไหน
ก็สามารถใช้ได้หมด เพียงแต่การเลือกวิธีในการเชื่อมสำคัญที่สุด