28 กรกฎาคม 2550

Seqence ของสัมผัส จาก ร้อยกรอง สี่คำ (ต่อ 2)

จากอาทิตย์ที่แล้วโครง Sequence ที่ได้คือ



หลังจากที่มุ่งหลงทาง ศึกษาแต่ตัวโครงของ sequence อย่างเดียว ทำให้รู้สึกว่ามันยังไม่ดีพอ เหมือนขาดอะไร.....

หลังจากนั้นก็ศึกษามันต่อ ว่าขาดอะไรไป "ความสุนทรีย์" ที่เกิดจากสัมผัส

ประเด็นหลักตอนแรกที่ทำให้สนใจร้อยกรอง สี่คำ ก็เพราะ สัมผัสที่ทำให้เกิดสุนทรีย์ในการอ่าน

สัมผัสก็คือการคล้องจอง การคล้องจองในที่นี้คือ คล้องจองโดยเสียงสระ ตัวสะกด คำซ้ำ พ้องรูป พ้องเสียง หรือความสัมพันธ์ของวรรณยุค

sequence ที่ได้ออกมา จึงเป็น sequence ของสัมผัสที่มีเงื่อนไขว่า ทำให้สุนทรีย์

งานตอนนี้คงไม่หนีจากตัวหนังสือ จะเล่นกับความเป็นหนังสือ คำที่เป็นสัมผัสแต่ละตัวจะถูกซ่อนอยู่ในหน้าที่ต่างๆกัน

ทำให้นึกถึงการแกะรหัสลับหรือปริศนาจากตัวหนังสือ.....ของนักสืบ ที่เห็นในการ์ตูนหรือในหนัง

และก็มีชื่อหนังเรื่องหนึ่งที่ทำให้หนูกิดความคิดเรื่องความสุนทรีที่เกิดจากคำซ้ำ หรือคำพ้องเสียง "รัน รอล่า รัน" ตอนแรกที่ได้ยินก็นึกว่าเป็นชื่อ เพราะยังไม่เห็นว่าเขียนยังไง แต่ก็รู้สึกว่ามันเพราะดีนะ ลื่นหูดี คิดได้ไง แต่จริงๆแล้วชื่อเรื่องเขียนอย่างนี้ "run lola run" ก็คือหนังเรื่องนี้ นางเอกวิ่งทั้งเรื่อง......

ขอทิ้งท้ายด้วย "รรรรรร" ที่เห็นอยู่นี่เป็นชื่อนะคะ อ่านว่า ระ-รัน-รอน

22 กรกฎาคม 2550

Sequence ของ สัมผัส (ร้อยกรอง สี่คำ) ต่อ

จากสัมผัสที่ได้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
เมื่อลองกลับมาศึกษาอีกครั้ง ได้ sequence ออกมาอีกรูปแบบนึง
คือ.... A > B > C > D > E > F > G > H
B กับ C และ F กับ G คือสัมผัสที่ Random ที่มีการเลือกไม่ 1 ก็ทั้ง2
ซึ่งทั้งหมด ตั้งแต่ A >>>>>>> ไปจนถึง >>>>>>> H คือเรื่องๆ หนึ่งที่มีการสิ้นสุด ด้วย H
ไม่ว่าจะเลือก BหรือC หรือ BและC สุดท้ายก็ต้องจบลงด้วย H เหมือนกัน
จะยกตัวอย่างให้เข้าใจยิ่งขึ้น ใช้ตัวอย่างแค่ช่วงหนึ่ง

A > B > C > D เป็นการเลือกทั้ง 2 และจบลงด้วย D
A > B > D เป็นการเลือกเพียง B และจบลงด้วย D
A > C > D นี่ก็เป็นการเลือกเพียง C และจบลงด้วย D เหมือนกัน

ไม่ว่าจะเลือกยังไงก็ต้องจบลงด้วย D ดังนั้นตัวอย่างที่ยกไปก็คือ กรอบของ สัมผัส ของsequence

หรือ สามารถเทียบได้กับ ชีวิตประจำวัน
ตื่นนอน > อาบน้ำ > แปรงฟัน > ไปทำงาน
ตื่นนอน > อาบน้ำ > ไปทำงาน
ตื่นนอน > แปรงฟัน > ไปทำงาน
ทั้ง 3 อันก็ได้ไปทำงานเหมือนกัน มีต้นและจบ ที่เหมือนกัน และในระหว่างต้นกับจบ ก็มีการเลือก แต่การเลือกนั้นก็ไม่มีผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ของระบบ

สื่อที่จะทำตอนนี้
คิดว่าคงเป็นหนังสือ น่าจะเหมาะสมที่สุด กับระบบ sequenceที่ได้ ซึ่งหนังสือดูมีความน่าสนใจกว่า เพราะว่าไม่ต้องการใส่เนื้อเรื่องที่หนักเกินไป อยากจะให้เป็นภาพที่อธิบายsequence ของสัมผัสให้ชัดเจน สามารถสัมผัสได้ และ สื่อเกี่ยวกับsequence ของข้าพเจ้าได้เข้าใจกว่า การทำ media แบบบังคับให้ดูตามไปจนจบ

15 กรกฎาคม 2550

Sequence จากร้อยกรอง

สนใจ sequence ของร้อยกรอง 4 คำ


โครงสร้างร้อยกรอง 4 คำ
ความสนใจในร้อยกรอง 4 คำ ที่ทำให้นำมาศึกษา คือ “สัมผัส” ซึ่งสัมผัสทำให้แต่ละวรรค เกิดการเชื่อมโยงเป็นเรื่องเดียวกัน ด้วยกรอบของ สระ กับ มาตราสะกด และยังทำให้เกิดความสวยงามในรูปแบบของวลี (วงกลมสีส้ม2อันที่ติดกับ ในรูปแบบของร้อยกรอง 4 คำแล้ว สามารถเลือกสัมผัสได้ทั้งสอง หรือเพียง 1 ก็ได้)
ถ้าจะเปรียบเทียบ sequence ของร้อยกรอง 4 คำ ก็เหมือนกับ หนังที่เป็นตอนๆ ซึ่งแต่ละตอนก็มีจุดๆหนึ่ง หรือ สิ่งๆหนึ่ง ที่ทำให้หนังเรื่องนั้นเชื่อมโยงกันกลายเป็นเรื่องๆเดียว

จากนั้นจึงคิดต่อจากรูปแบบของร้อยกรอง 4 คำ ได้ออกมาเป็นโครงสร้าง sequence แนวขนาน

ลองทำให้เป็นแนวเดียวกัน เพื่อดูรูปแแบของสัมผัสให้ชัดเจนขึ้น
จากนั้นเจาะลงไปเฉพาะ sequence ของสัมผัส อย่างเดียว จึงได้รูปแบบโครงสร้างแบบนี้
จะเห็นได้ว่าสัมผัส เกิดการเลือก ระหว่าง 1 กับ 2 เลือก 1 คำ หรือ 2คำเลยก็ได้ จึงเกิด sequence แบบ random ขึ้นมาอีก1
จากการคิดหลายต่อหลายแบบจากโครงสร้างด้านบนและสุดท้ายจึงได้ออกมาเป็นแบบนี้ค่ะ

ได้ออกมาเป็นรูปแบบ sequence ของสัมผัส ของร้อยกรอง 4 คำ (จากหลายแบบที่มองลึกเกินไป)และนำรูปแบบโครงสร้างดังกล่าวไปสร้างงาน
สื่อที่เลือกคือ สื่อ time base media เพราะคิดว่าจะสื่อถึงการดำเนินเรื่องราวของ sequence ให้เห็นได้ชัดเจน

08 กรกฎาคม 2550

การมอง Sequnce

การมอง sequence
Sequence อย่างที่อาจารย์บอก sequence เป็นได้ทุกอย่าง
- ลองมอง Sequence จากสถานการณ์ต่างๆรอบตัว ที่มีการเริ่ม และจบ
- หยิบเรื่องที่สนใจมาลองเขียนเป็น sequence ที่ดูง่าย และดูว่า sequence ที่ได้คุณสนใจมันรึเปล่า และ พอจะเอาไปทำงานต่อได้รึเปล่า
- ไม่จำเป็นต้องมองให้ลึก
ตัวอย่าง sequence ที่อาจารย์ติ๊ก ยกตัวอย่าง (แต่อย่าเอาไปทำตามนะ!)
อาจารย์มองไปรอบๆห้อง และพูดว่า “นั่นไง sequence ของหนังสือพิมพ์”
- หนังสือพิมพ์ มี sequence ที่น่าสนใจ
- sequence เป็นการบังคับการอ่านที่แปลก และน่าสนใจ
- คอลัมที่ต้องการให้เห็นก่อน จะมีตัวหนังสือ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในหน้าแรกของหนังสือพิมพ์ และเป็นสีที่เด่นที่สุดสีเดียว
- คอลัมที่บังคับให้อ่านต่อมา เป็นตัวหนังสือที่มีขนาดใหญ่รองลงมา คอลัมนี้อาจมีหลายคอลัม จะมีสีเดียวกัน แต่มากกว่า 1 คอลัม
จากนั้นจึงเริ่ม มองดูคอลัม อื่นๆ
- แต่ยังมีความน่าสนใจอีกคือ อาจจะยังอ่านหน้าแรกไม่หมด ก็ต้องเปิดไปอ่านหน้าอื่นแล้ว ซึ่งเค้าก็จะใส่เลขหน้าไว้ให้อ่านต่อ
ดังนั้น จาก sequence ของหนังสือพิมพ์ ก็เอาไปทำหนังสือที่ใช้ sequence ของหนังสือพิมพ์เป็นหลักในการทำ ....จบ....

- เพื่อนๆอาจจะลองมองดูอย่างอื่นรอบๆตัวมาลองเขียน sequence ได้ ที่มันมีเริ่ม และจบ ก็เป็น sequence ได้แล้ว

01 กรกฎาคม 2550

sequence ตอนที่3

หลังจากที่คิดว่าจะทำ sequence ของการอ่าน ซึ่งไปชนกับงานที่พี่ดี้เสนอ.... ถึงจะไม่ตรง100เปอร์เซนต์ แต่มันก็คล้ายกันอยู่ดี.... = =
จากความสนใจเรื่องวงจรชีวิต ของมนุษย์
การปฏิสนธิ > แบ่งเซลล์ > เป็นตัวอ่อน > ทารก > วัยรุ่น > วัยกลางคน > ชรา > ตาย
หลังจากที่คิดตื้นๆ ก็เลยหยิบยกช่วง ช่วงนึงที่มี sequence ที่น่าสนใจ
คือช่วง วัยรุ่น > วัยชรา
sequence ที่ได้ก็ยังเป็น sequence ที่สมบูรณ์ (ตามปกติที่ควรจะเป็น)
แต่...ในสิ่งที่ต้องสมบูรณ์ กลับมี sequence อีกตัว หรือหลายตัว มารบกวนความสมบูรณ์
ซึ่งก็หมายความว่า จุดจบ อาจจะสมบูรณ์แบบที่ควรจะเป็น หรืออาจจะถูกรบกวนจนมันไม่สมบูรณ์ ก็เป็นได้
วัยรุ่น > เกิดความรัก > วัยกลางคน > ทำงาน > แต่งงาน > มีครอบครัว > มีลูก > วัยชรา
ในที่นี้จะพูดถึงเรื่องมีความรัก มีครอบครัว
ตัวอย่างเช่น สมมติว่ามีชายคนนึงA > คบผู้หญิงคนนึง B> แต่งงานกัน > มีลูกด้วยกัน > เป็นครอบครัวที่มีความสุข > ประสบความสำเร็จในชีวิต > ชรา
ในระหว่างที่มันเป็น sequence ที่กำลังสมบูรณ์อยู่ มันอาจจะมีอะไรที่คาดไม่ถึงก็ได้
เช่น ถ้าเกิดว่า ชายคนนั้นA > คบผู้หญิงคนนั้น B และในระหว่างนั้น ชายA อาจจะคบกับผู้หญิงอื่น C อยู่ก็ได้
และผลสุดท้าย sequence ที่ควรจะสมบูรณ์ อาจเกิด sequenceใหม่ขึ้นมา จนทำให้มัน ไม่สมบูรณ์ก็ได้

งานจะทำออกมาเป็น book design และใส่เรื่องราวเข้าไป อยากจะเป็นคล้ายๆกับทางเลือก เพื่อนำไปสู่ ทางที่สมบูรณ์ หรือ ไม่สมบูรณ์