06 ตุลาคม 2550

พูดคล่อง : presentation

ตัวงานเป็น time base media

พูดคล่อง : การทดทองครั้งที่ 1-3

11-09-07 แก้ไขครั้งที่1




















17-09-07 แก้ไขครั้งที่2



















23-09-07 แก้ไขครั้งที่3


การทดลอง speed & speech

ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยของ อภิญญา หัวข้อ speed & speech
รับหน้าที่ทำ time base media ในการทดลอง








ทดลองจากการอ่านจากยากไปหาง่าย
เริ่มจากการกำหนดเวลาของการอ่านจาก 5 วินาที ที่เป็นประโยคเต็ม แล้วค่อยๆลดระยะเวลาลงพร้อมกับการเปลี่ยนวิธีการอ่านจนถึงคำละ 1 วินาที







ทดลองด้วยวิธีอ่านแบบปกติ
อ่านจาก2 คำ ด้วยเวลา 2 วินาที และลองเปลี่ยนให้เร็วขึ้นเป็น 1 วินาที จากนั้นเพิ่มประโยคและใช้เวลา ประโยคละ 2 วินาที เพิ่มการอ่านเป็น 2 ประโยค ใช้เวลา 4วินาที และสุดท้ายเปลี่ยนเป็นประโยคเต็ม เพื่อทดสอบดูว่าอ่านได้ดีขึ้นรึปล่าว







ทดลองเปลี่ยนวิธีการอ่าน และการเว้นวรรคการอ่าน
เริ่มแรกประโยคเต็มใช้เวลา 5 วินาที ต่อมาเริ่มจัดรูปการอ่านและใช้เวลา 2/2วินาที จัดรูปใหม่ใช้เวลา 1/2/1/2 วินาที และ เป็น2/1/2/1 วินาที จนกระทั่ง เป็น วรรคละ 1 วินาที

20 สิงหาคม 2550

การทดลอง ครั้งที่ 2

จากการทดลองครั้งที่แล้ว

การนำสิ่งอื่นที่มีความคล้าย "ร" ของ รรรรรร ยังไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดี

จากนั้นกลับมาศึกษา รรรรรร อีกครั้ง

รรรรรร ใช้การอ่าน แบบภาษาบาลี และภาษาไทย

จะใช้คำในภาษาบาลีในการทดลอง

ภาษาบาลีนั้น มีสระอะ ลดรูปซ่อนอยู่ในแต่ละพยัญชนะ ทำให้พยัญชนะที่ไม่มี นิคคหิต หรือ พิณทุ อ่านออกเสียง ด้วยสระ อะ เสมอ

พยัญชนะ ภาษาบาลีมี 33 รูป สันสกฤตมี 35 รูป (เพิ่ม ศ ษ) คือ
ภาษาบาลีมีหลักเกณฑ์การใช้ตัวสะกด ตัวตามที่แน่นอนคือ พยัญชนะที่ จะเป็นตัวสะกดได้ คือ พยัญชนะในแถวที่ 1, 3 และ 5 เท่านั้น

โดยมีหลัก เกณฑ์ดังนี้

ก . พยัญชนะแถวที่ 1 สะกด พยัญชนะแถวที่ 1 หรือ 2 เป็นตัวตาม เช่น วักกะ (ไต) ปัจจัย อัตตา อักขระ อิจฉา สมุฏฐาน หัตถ์ บุปผา ฯลฯ

ข. พยัญชนะแถวที่ 3 สะกด พยัญชนะแถวที่ 3 หรือ 4 เป็นตัวตาม เช่น อัคคี สมัชชา สัพพัญญู พยัคฆ์ อัชฌาสัย ยุทธ์ อัพภาส (คำซ้ำ) ฯลฯ

ค . พยัญชนะแถวที่ 5 สะกด พยัญชนะทุกตัวในวรรคเดียวกันเป็นตัวตามได้ เช่น สังกร สังขาร สังคม สงฆ์ กัญญา เบะ สัญชาติ สัณฐาน ภัณฑ์ ขันธ์ วันทา สนธิ ฯลฯ

ง . ถ้าตัวสะกดอยู่ในเศษวรรค เช่น ย ล ส จะใช้ตัวสะกดตัวตามตัวเดียวกัน เช่น อัยยิกา (ย่า , ยาย) ปัยยิกา (ย่าทวด , ยายทวด) อัยยะ (ผู้เป็นเจ้า , ผู้เป็นใหญ่) บัลลังก์ มัลลิกา (ดอกมะลิ) อัสสุชล มัสสุ (หนวด) ประภัสสร ฯลฯ

จากหลักเกณฑ์การใช้ตัวสะกด จะนำมาสร้างงาน ด้วย sequence ของสัมผัส (ต่อ2)

13 สิงหาคม 2550

ทดลอง ครั้งที่ 1

จาก ตัวอย่าง "รรรรรร" ที่มีความใกล้เคียงกับ sequence ของสัมผัส
"ร" มีคุณสมบัติ บางอย่าง และมีความยืดหยุ่นในการจับคู่
จึงยืมคุณสมบัติของ "ร" มาหาสิ่งที่คล้ายกัน เพื่อนำมาทำงานในรูปแบบของ sequence
จึงสรุปออกมาว่า "ร" มีคุณสมบัติคือ ไม่ตายตัว เข้าได้หลายอย่าง เหมือนกับคนที่เข้ากับคนอื่นได้ง่าย

.....

-น้ำสามารถเปลี่ยนแปลงได้หลายแบบไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับภาชนะ
-ความดี เปลี่ยนแปลงได้ ในบางสถานะการณ์ หรือจากสิ่งรอบตัว
-เรขาคณิต มีความเฉพาะในตัวมันเอง.....จากที่นั่งวิเคาระห์ เรขาคณิต มีความใกล้เคียงกับ sequence มากที่สุด
จึงนำเรขาคณิตะมาทดลอง

3เหลียม และ4เหลี่ยม ด้านเท่า
3เหลี่ยม เมื่อนำมาทำเป็น3 มิติ เพื่อให้หยิบจับและทดลองได้ง่าย
ภาพแรก เป็นภาพของ สามเหลี่ยมด้านเท่า


ภาพที่สอง

ภาพที่สาม เป็นภาพของการทดลองนำ3เหลี่ยนด้านเท่า2อันมาต่อกัน

ไม่ว่าจะเลือกต่อที่ด้านไหน ผลลัพธ์ก็จะออกมาเหมือนกัน

ภาพที่สี่ เป็นภาพของการนำสามเหลี่ยมด้านเท่า3อันมาทดลองต่อกัน
ไม่ว่าจะเลือกต่อที่ด้านไหนของชิ้นไหนก็ตาม ผลลัพธ์ก็ออกมาเหมือนกัน
แต่เมื่อเป็น 3เหลี่ยมด้านเท่า 4 อันลองนำมาต่อกันผลที่ได้จะมีอยู่ 3แบบ....
ต่อมา สี่เหลี่ยมด้านเท่า
-เมื่อนำมาลองต่อกัน2ชิ้น จะมีผลลัพธ์แค่ 1
-เมื่อลองนำมาต่อกัน3ชิ้น ก็จะเห็นว่ามีผลลัพธ์ออกมา 2แบบ
จะเห็นได้ว่าเกิดปัญหาเรื่องของผลลัพธ์ที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง มีหลายแบบไม่เหมือนกัน
ผลสรุป เรขาคณิต ไม่สามารถใช้ได้........

06 สิงหาคม 2550

Sequence ของสัมผัส (ต่อ3)

sequence จากเข้า ช.ม.เรียน เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว เกี่ยวกับเรื่อง การแลนดอมแล้วเกิดสุนทรีย์

หลังจากที่นั่งงงกับสิ่งที่ได้มาอยู่นาน มัวแต่คิด..ยึดรูปแบบ sequence หลักที่ได้มา...(อาจจะคิดช้าไปหน่อย = = )
ตอนนี้เหมือนมองเห็นหลักอะไรออกบางอย่าง
ลองตีความจาก sequence เก่า ออกมาง่ายๆ คือ
......

...

.

วัตถุ(1) + วัตถุ(2) = ความสุนทรีย์
+ คือ (random)
วัตถุ 2 สิ่ง ที่มีความแตกต่างกัน หรือเหมือนกัน แลนดอมวิธีการรวมให้วัตถุ 2 สิ่งเกิดการเชื่อมโยงกัน และเกิดความสุนทรีย์

ถ้าเป็นอย่างที่เขียนมา (ยังไม่แน่ใจว่า ลดระบบของ sequence เดิมมามากไปรึเปล่า?) ไม่ว่าจะใช้สื่อหรือวัตถุแบบไหน
ก็สามารถใช้ได้หมด เพียงแต่การเลือกวิธีในการเชื่อมสำคัญที่สุด

28 กรกฎาคม 2550

Seqence ของสัมผัส จาก ร้อยกรอง สี่คำ (ต่อ 2)

จากอาทิตย์ที่แล้วโครง Sequence ที่ได้คือ



หลังจากที่มุ่งหลงทาง ศึกษาแต่ตัวโครงของ sequence อย่างเดียว ทำให้รู้สึกว่ามันยังไม่ดีพอ เหมือนขาดอะไร.....

หลังจากนั้นก็ศึกษามันต่อ ว่าขาดอะไรไป "ความสุนทรีย์" ที่เกิดจากสัมผัส

ประเด็นหลักตอนแรกที่ทำให้สนใจร้อยกรอง สี่คำ ก็เพราะ สัมผัสที่ทำให้เกิดสุนทรีย์ในการอ่าน

สัมผัสก็คือการคล้องจอง การคล้องจองในที่นี้คือ คล้องจองโดยเสียงสระ ตัวสะกด คำซ้ำ พ้องรูป พ้องเสียง หรือความสัมพันธ์ของวรรณยุค

sequence ที่ได้ออกมา จึงเป็น sequence ของสัมผัสที่มีเงื่อนไขว่า ทำให้สุนทรีย์

งานตอนนี้คงไม่หนีจากตัวหนังสือ จะเล่นกับความเป็นหนังสือ คำที่เป็นสัมผัสแต่ละตัวจะถูกซ่อนอยู่ในหน้าที่ต่างๆกัน

ทำให้นึกถึงการแกะรหัสลับหรือปริศนาจากตัวหนังสือ.....ของนักสืบ ที่เห็นในการ์ตูนหรือในหนัง

และก็มีชื่อหนังเรื่องหนึ่งที่ทำให้หนูกิดความคิดเรื่องความสุนทรีที่เกิดจากคำซ้ำ หรือคำพ้องเสียง "รัน รอล่า รัน" ตอนแรกที่ได้ยินก็นึกว่าเป็นชื่อ เพราะยังไม่เห็นว่าเขียนยังไง แต่ก็รู้สึกว่ามันเพราะดีนะ ลื่นหูดี คิดได้ไง แต่จริงๆแล้วชื่อเรื่องเขียนอย่างนี้ "run lola run" ก็คือหนังเรื่องนี้ นางเอกวิ่งทั้งเรื่อง......

ขอทิ้งท้ายด้วย "รรรรรร" ที่เห็นอยู่นี่เป็นชื่อนะคะ อ่านว่า ระ-รัน-รอน

22 กรกฎาคม 2550

Sequence ของ สัมผัส (ร้อยกรอง สี่คำ) ต่อ

จากสัมผัสที่ได้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
เมื่อลองกลับมาศึกษาอีกครั้ง ได้ sequence ออกมาอีกรูปแบบนึง
คือ.... A > B > C > D > E > F > G > H
B กับ C และ F กับ G คือสัมผัสที่ Random ที่มีการเลือกไม่ 1 ก็ทั้ง2
ซึ่งทั้งหมด ตั้งแต่ A >>>>>>> ไปจนถึง >>>>>>> H คือเรื่องๆ หนึ่งที่มีการสิ้นสุด ด้วย H
ไม่ว่าจะเลือก BหรือC หรือ BและC สุดท้ายก็ต้องจบลงด้วย H เหมือนกัน
จะยกตัวอย่างให้เข้าใจยิ่งขึ้น ใช้ตัวอย่างแค่ช่วงหนึ่ง

A > B > C > D เป็นการเลือกทั้ง 2 และจบลงด้วย D
A > B > D เป็นการเลือกเพียง B และจบลงด้วย D
A > C > D นี่ก็เป็นการเลือกเพียง C และจบลงด้วย D เหมือนกัน

ไม่ว่าจะเลือกยังไงก็ต้องจบลงด้วย D ดังนั้นตัวอย่างที่ยกไปก็คือ กรอบของ สัมผัส ของsequence

หรือ สามารถเทียบได้กับ ชีวิตประจำวัน
ตื่นนอน > อาบน้ำ > แปรงฟัน > ไปทำงาน
ตื่นนอน > อาบน้ำ > ไปทำงาน
ตื่นนอน > แปรงฟัน > ไปทำงาน
ทั้ง 3 อันก็ได้ไปทำงานเหมือนกัน มีต้นและจบ ที่เหมือนกัน และในระหว่างต้นกับจบ ก็มีการเลือก แต่การเลือกนั้นก็ไม่มีผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ของระบบ

สื่อที่จะทำตอนนี้
คิดว่าคงเป็นหนังสือ น่าจะเหมาะสมที่สุด กับระบบ sequenceที่ได้ ซึ่งหนังสือดูมีความน่าสนใจกว่า เพราะว่าไม่ต้องการใส่เนื้อเรื่องที่หนักเกินไป อยากจะให้เป็นภาพที่อธิบายsequence ของสัมผัสให้ชัดเจน สามารถสัมผัสได้ และ สื่อเกี่ยวกับsequence ของข้าพเจ้าได้เข้าใจกว่า การทำ media แบบบังคับให้ดูตามไปจนจบ

15 กรกฎาคม 2550

Sequence จากร้อยกรอง

สนใจ sequence ของร้อยกรอง 4 คำ


โครงสร้างร้อยกรอง 4 คำ
ความสนใจในร้อยกรอง 4 คำ ที่ทำให้นำมาศึกษา คือ “สัมผัส” ซึ่งสัมผัสทำให้แต่ละวรรค เกิดการเชื่อมโยงเป็นเรื่องเดียวกัน ด้วยกรอบของ สระ กับ มาตราสะกด และยังทำให้เกิดความสวยงามในรูปแบบของวลี (วงกลมสีส้ม2อันที่ติดกับ ในรูปแบบของร้อยกรอง 4 คำแล้ว สามารถเลือกสัมผัสได้ทั้งสอง หรือเพียง 1 ก็ได้)
ถ้าจะเปรียบเทียบ sequence ของร้อยกรอง 4 คำ ก็เหมือนกับ หนังที่เป็นตอนๆ ซึ่งแต่ละตอนก็มีจุดๆหนึ่ง หรือ สิ่งๆหนึ่ง ที่ทำให้หนังเรื่องนั้นเชื่อมโยงกันกลายเป็นเรื่องๆเดียว

จากนั้นจึงคิดต่อจากรูปแบบของร้อยกรอง 4 คำ ได้ออกมาเป็นโครงสร้าง sequence แนวขนาน

ลองทำให้เป็นแนวเดียวกัน เพื่อดูรูปแแบของสัมผัสให้ชัดเจนขึ้น
จากนั้นเจาะลงไปเฉพาะ sequence ของสัมผัส อย่างเดียว จึงได้รูปแบบโครงสร้างแบบนี้
จะเห็นได้ว่าสัมผัส เกิดการเลือก ระหว่าง 1 กับ 2 เลือก 1 คำ หรือ 2คำเลยก็ได้ จึงเกิด sequence แบบ random ขึ้นมาอีก1
จากการคิดหลายต่อหลายแบบจากโครงสร้างด้านบนและสุดท้ายจึงได้ออกมาเป็นแบบนี้ค่ะ

ได้ออกมาเป็นรูปแบบ sequence ของสัมผัส ของร้อยกรอง 4 คำ (จากหลายแบบที่มองลึกเกินไป)และนำรูปแบบโครงสร้างดังกล่าวไปสร้างงาน
สื่อที่เลือกคือ สื่อ time base media เพราะคิดว่าจะสื่อถึงการดำเนินเรื่องราวของ sequence ให้เห็นได้ชัดเจน

08 กรกฎาคม 2550

การมอง Sequnce

การมอง sequence
Sequence อย่างที่อาจารย์บอก sequence เป็นได้ทุกอย่าง
- ลองมอง Sequence จากสถานการณ์ต่างๆรอบตัว ที่มีการเริ่ม และจบ
- หยิบเรื่องที่สนใจมาลองเขียนเป็น sequence ที่ดูง่าย และดูว่า sequence ที่ได้คุณสนใจมันรึเปล่า และ พอจะเอาไปทำงานต่อได้รึเปล่า
- ไม่จำเป็นต้องมองให้ลึก
ตัวอย่าง sequence ที่อาจารย์ติ๊ก ยกตัวอย่าง (แต่อย่าเอาไปทำตามนะ!)
อาจารย์มองไปรอบๆห้อง และพูดว่า “นั่นไง sequence ของหนังสือพิมพ์”
- หนังสือพิมพ์ มี sequence ที่น่าสนใจ
- sequence เป็นการบังคับการอ่านที่แปลก และน่าสนใจ
- คอลัมที่ต้องการให้เห็นก่อน จะมีตัวหนังสือ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในหน้าแรกของหนังสือพิมพ์ และเป็นสีที่เด่นที่สุดสีเดียว
- คอลัมที่บังคับให้อ่านต่อมา เป็นตัวหนังสือที่มีขนาดใหญ่รองลงมา คอลัมนี้อาจมีหลายคอลัม จะมีสีเดียวกัน แต่มากกว่า 1 คอลัม
จากนั้นจึงเริ่ม มองดูคอลัม อื่นๆ
- แต่ยังมีความน่าสนใจอีกคือ อาจจะยังอ่านหน้าแรกไม่หมด ก็ต้องเปิดไปอ่านหน้าอื่นแล้ว ซึ่งเค้าก็จะใส่เลขหน้าไว้ให้อ่านต่อ
ดังนั้น จาก sequence ของหนังสือพิมพ์ ก็เอาไปทำหนังสือที่ใช้ sequence ของหนังสือพิมพ์เป็นหลักในการทำ ....จบ....

- เพื่อนๆอาจจะลองมองดูอย่างอื่นรอบๆตัวมาลองเขียน sequence ได้ ที่มันมีเริ่ม และจบ ก็เป็น sequence ได้แล้ว

01 กรกฎาคม 2550

sequence ตอนที่3

หลังจากที่คิดว่าจะทำ sequence ของการอ่าน ซึ่งไปชนกับงานที่พี่ดี้เสนอ.... ถึงจะไม่ตรง100เปอร์เซนต์ แต่มันก็คล้ายกันอยู่ดี.... = =
จากความสนใจเรื่องวงจรชีวิต ของมนุษย์
การปฏิสนธิ > แบ่งเซลล์ > เป็นตัวอ่อน > ทารก > วัยรุ่น > วัยกลางคน > ชรา > ตาย
หลังจากที่คิดตื้นๆ ก็เลยหยิบยกช่วง ช่วงนึงที่มี sequence ที่น่าสนใจ
คือช่วง วัยรุ่น > วัยชรา
sequence ที่ได้ก็ยังเป็น sequence ที่สมบูรณ์ (ตามปกติที่ควรจะเป็น)
แต่...ในสิ่งที่ต้องสมบูรณ์ กลับมี sequence อีกตัว หรือหลายตัว มารบกวนความสมบูรณ์
ซึ่งก็หมายความว่า จุดจบ อาจจะสมบูรณ์แบบที่ควรจะเป็น หรืออาจจะถูกรบกวนจนมันไม่สมบูรณ์ ก็เป็นได้
วัยรุ่น > เกิดความรัก > วัยกลางคน > ทำงาน > แต่งงาน > มีครอบครัว > มีลูก > วัยชรา
ในที่นี้จะพูดถึงเรื่องมีความรัก มีครอบครัว
ตัวอย่างเช่น สมมติว่ามีชายคนนึงA > คบผู้หญิงคนนึง B> แต่งงานกัน > มีลูกด้วยกัน > เป็นครอบครัวที่มีความสุข > ประสบความสำเร็จในชีวิต > ชรา
ในระหว่างที่มันเป็น sequence ที่กำลังสมบูรณ์อยู่ มันอาจจะมีอะไรที่คาดไม่ถึงก็ได้
เช่น ถ้าเกิดว่า ชายคนนั้นA > คบผู้หญิงคนนั้น B และในระหว่างนั้น ชายA อาจจะคบกับผู้หญิงอื่น C อยู่ก็ได้
และผลสุดท้าย sequence ที่ควรจะสมบูรณ์ อาจเกิด sequenceใหม่ขึ้นมา จนทำให้มัน ไม่สมบูรณ์ก็ได้

งานจะทำออกมาเป็น book design และใส่เรื่องราวเข้าไป อยากจะเป็นคล้ายๆกับทางเลือก เพื่อนำไปสู่ ทางที่สมบูรณ์ หรือ ไม่สมบูรณ์

24 มิถุนายน 2550

งานโปรแจคที่คิดว่าจะทำ

อืม...... /^[]^"\
หลังจากที่ได้เรียนไปอาทิตย์ล่าสุด.....เกิดความเข้าใจผิดอย่างรุนแรง นึกว่างานที่ต้องทำ
จะคล้ายๆกับงานเมื่อตอนเรียนคอมดีไซด์ 4 คือ... เลือกสื่อ ใส่เนื้อเรื่อง
ส่วนตอนนี้ต้องอธิบาย Sequence ด้วย Sequence ตอนแรกก็งงเล็กน้อยถึงปานกลาง
แต่พอนั่งคุยกันในวงเพื่อนๆ ก็เข้าใจอะไรๆดีขึ้น
ตอนนี้ก็อยากเสนอเกี่ยวกับที่คิดไว้
อยากจะทำเกี่ยวกับเรื่องการอ่าน (จองแล้วๆ) sequence ของการอ่าน
การอ่าน..มี sequence 3แบบ
แบบที่1 sequence ของการอ่านตัวหนังสือ
แบบที่2 sequence ของการเปิดหน้าหนังสือ เพื่ออ่าน
แบบที่3 คือ sequence ที่ไม่สมบูรณ์ การข้ามลำดับ ทั้งการอ่าน และการเปิด

อันที่2 ตอนนั้นนึกถึงเรื่องที่อจารย์พูด sequenceก็คือทุกอย่าง ก็เลยมองไปรอบๆตัว
อ่ะ..พัดลม ตอนแรกคิดว่าจะทำ sequenceของพัดลม ตั้งแต่เริ่มจนเกิดลม
ไฟฟ้าที่เกิดจากน้ำตก > ไฟฟ้าถูกเชื่อมโยงด้วยสายไป > ผ่านหม้อแปลงไฟ > ไปยังบ้านเรือนต่างๆ > เสียบปลั๊ก > กดสวิส > ไฟฟ้าผ่านสายไฟเข้ามอเตอร์ > มอเตอร์แปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล > มอเตอร์หมุน > เกิดลม > เย็นสบาย ^[]^ /

17 มิถุนายน 2550

Sequence จากหนัง เรื่อง Final Destination2




























Final Destination 2
สำหรับทุกๆ การเริ่มต้น จะต้องพบกับจุดจบเสมอ...
หลังจาก เคลียร์ ริเวอร์ส (อาลี ลาเตอร์) เป็นผู้รวดชีวิตเพียงคนเดียว จากเหตุการณ์เที่ยวบิน 180 ที่ยังมีชีวิตอยู่
เคลียร์ที่ถูกกักตัวอยู่ในโรงพยาบาลโรคจิต ที่เธอได้เลือกที่จะทำเช่นนั้นเพื่อความปลอดภัย
ปัจจุบันเธอได้พบว่า ความตายกำลังจะมาเอาชีวิตของเธอ เหมือนที่มันทำกับเพื่อนทุกๆ คนของเธอ
เคลียร์อาจจะถูกมองว่าบ้า ความตายกำลังมุ่งสู่ชานเมือง บนถนนสายที่ 23 มุ่งหน้าสู่ทางใต้...

ระหว่างเดินทางไปกับเพื่อนๆ คิมเบอร์ลี่ คอร์แมน (เอ เจ คุ้ก) มองดูรถบรรทุกที่โอนเอียงและเสียการทรงตัว
โดยทำให้เกิดอุบัติเหตุลูกโซ่ที่น่ากลัว ที่ได้ทิ้งร่องรอยของเหล็กและร่างคนตาย รวมถึงตัวเธอเองด้วย
ไม่นานหลังจากนั้น คิมเบอร์ลี่พบว่า ตัวเองยังคงติดอยู่ในการจราจร พร้อมด้วยแถวของคนที่เดินทางไปมา
เธอได้เห็นวินาทีแห่งความตายก่อน มันเป็นเพียงภาพสังหรณ์ แต่มันเป็นคำเตือนหรือเปล่า ?
ด้วยความตกใจ จึงทำให้เธอต้องทำบางสิ่งบางอย่าง คิมเบอร์ลี่จึงขวางทางรถ ที่กำลังจะมาติดการจราจรบนถนน 23
ขณะเดียวกันกับที่ตำรวจหนุ่ม โทมัส เบิร์ก (ไมเคิล แลนเดส) ก็เดินทางมาถึง คนที่เดินทางเริ่มบีบแตรและโวยวาย...
จนกระทั่งภาพเหตุการณ์ที่คิมเบอร์ลี่ได้เห็น ได้เกิดขึ้นอย่างรุนแรงต่อหน้าต่อตาพวกเขา

ความตายได้ทำให้ถนนไฮเวย์ กลายเป็นกองอุบัติเหตุขนาดมหึมา พร้อมกับพวกที่เหลือวิ่งหนีเพื่อเอาตัวรอด
แต่คิมเบอร์ลี่รู้ว่ามันยังไม่จบแค่นั้น ความตายไม่สามารถโดนโกงได้ง่ายๆ เช่นนั้น
ตอนนี้กลุ่มคนแปลกหน้า ที่คิมเบอร์ลี่เห็นล่วงหน้าว่าพวกเขาต้องตาย ในหายนะบนถนนฟรีเวย์
เคลียร์ต้องร่วมมือกับเธอ ในการแข่งขันกับเวลา และความกลัวของพวกเขาที่น่าตื่นเต้น เพื่อทำในทุกอย่างเพื่อให้มีชีวิตรอด..!















----------------------------------------------------

Sequence จากเรื่อง
1. Sequence ของหนัง
2. Sequence ของอุบัติเหตุ
3. Sequence ของการตามหาคน
4. Sequence ของการแก้ปัญหา
5. Sequence ของเหตุการที่เกิดขึ้น
6. Sequence ของของการตายของแต่ละคน
7. Sequence ของลางสังหรณ์
8. Sequence ของลำดับการตายของคน

สรุป Sequence ท้ายบทเรียน

Sequence
-Sequence แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ infinish กับ finish Sequence
infinish Sequence เป็น Sequence แบบต่อเนื่องไม่มีสิ้นสุด
finish Sequence เป็น Sequence ที่มีการจบในตัว
-Sequence สามารถแบ่งออกเป็นพวกๆ ด้วยกรอบของมัน
-กรอบ...ก็เหมือนกับการจัดหมวดหมู่
-Sequence มักเป็นระบบที่แน่นอนตายตัว
-แต่ระบบ Sequence อาจเกิดความล้มเหลวได้ สิ่งที่ทำให้ Sequence เกิด
ความล้มเหลว เรียกว่า อินเทอลับ มันทำให้เกิด Sequence ที่ไม่สมบูรณ์
-System , Sequence , Random มีความเชื่อมโยงกัน
-การเปรียบเทียบ Random กับ Sequence
Random คลาดการไม่ได้ แต่ Random ที่มีอคติก็เป็น Sequence ได้
Sequence มีการถูกคลาดการไว้แล้ว ว่าต้องเป็นอย่างนั้น
-ความถี่ ไม่ใช่ Sequence แต่สามารถเป็น Sequence ได้

16 มิถุนายน 2550

Favourite Work


งานที่ชอบที่ที่เคยทำมา....
.....ทำไมถึงชอบ?
คงเป็นเพราะเป็นงานชิ้นแรกที่ทำ animation ด้วยตัวเอง
.... ไม่มีความรู้เรื่องการทำเลยจึงเป็นอะไรที่ทำเหนื่อยมากแต่ก็สนุกดีเพราะชอบ
แต่หลังจากที่ทำเสร็จแล้ว มันก็มีข้อผิดพลาด...ที่ทุกคนต่างก็พูดเหมือนกัน
คงเป็นเพราะเวลาที่ทำมันมีไม่มาก แถมเราก็ใช้วิธีโบร๊าณโบราณเลยยิ่งเสียเวลา = [] ="
อีกอย่างถ้าจะแก้ก็ต้องแก้ใหม่หมดในเวลาอันน้อยนิดก็เลยทำให้ดีที่สุดเท่าที่ทำได้แทน
..................................................................................
จะเริ่มอธิบายเกี่ยวกับงานชิ้นนี้นะคะ..
ทำไมถึงต้องเป็นแพนด้า?
>ชอบ...มันน่ารักเหมือนตุ๊กตา
>...กิน...นอน...เล่น... คล้ายๆตัวเราเองเลย
แล้วก็อีกเหตุผลที่ชอบก็เพราะว่า...เมื่อตอนเด็กๆ..ป่าป๊าไปเกาหลี
แล้วก็ซื้อตุ๊กตา,สมุด,ดินสอ,โปรสเตอร์แพนด้าแล้วก็สมุดที่บรรยายเกี่ยวกะแพนด้าให้
เป็นของสิ่งแรกที่ป่าป๊าซื้อมาฝาก
ก็เลยรู้สึกว่ามันเป็นอะไรที่พิเศษและหลังจากนั้นมาก็ชอบแพนด้า
วันนึงแพนด้าก็ถูกลบไปจากหัวสมองข้าวของถูกแม่จับทิ้ง(ด้วยเหตุผลที่ว่า รก และ เก่า)
ก็เลยลืมไปว่าทำไมถึงชอบ......

พอมาถึงช่วงเรียนมหาลัย อาจารย์ให้วาดรูปที่เป็นตัวเรา อยู่ๆก็อยากวาดตุ๊กตาแพนด้า
นึกไปนึกมาก็นึกถึงตุ๊กตาแพนด้าที่เคยมี... ตั้งแต่ปี1 มาก็วาดแต่แพนด้ามาตลอด
แล้วมาถึงงานชิ้นนี้ก็เลยใช้แพนด้าเป็นตัวสื่อ
สื่อสารด้วยแพนด้าที่แทนตัวเอง
แพนด้าเป็นเสมือนสิ่งที่อยากจะเป็นและอยากจะทำ
และทำขึ้นเพื่อทำให้ผู้รับสารเกิดรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ....
เรื่องราวมีอยู่ว่า...
ในวันที่เราทำงานอย่างเอาเป็นเอาตาย (แทนด้วยแพนด้า)
ทำไปๆ จู่ๆ คอมก็ดับ!! แพนด้าก็เลยอาระวาด
(เป็นคนพูดไม่เก่งนะคะ อาจจะพิมพ์วนไปวนมา หรืองง บ้าง ก็ขอโทษด้วย)
แพนด้าก็คือสิ่งที่อยู่ในการจินตนาการ สิ่งที่อยากทำแต่ทำไม่ได้
อยากสื่อให้เห็นว่าเป็นการจินตนาการของเรา ก็เลยใช้วิธีเหมือนมองผ่านตา.....
ฉากสุดท้ายเป็นสีขาวดำก็เพราะความเป็นจริงกับจินตนาการมันแตกต่างกัน
ด้วยความมีชีวิตชีวาและความจืดชืดน่าเบื่อ...